บริการถ่ายภาพสุดประทับใจ

..คลิกที่รูป...บริการถ่ายภาพสุดประทับใจ prewedding รับปริญญา พิธีการต่าง แฟชั่น อีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เพลิดเพลินตาไปกับหมู่ปลาสวยงาม ใน ม.เกษตร



ถ้าหากสยามโอเชี่ยนเวิลด์ คือแหล่งจำลองของโลกใต้ท้องทะเลแล้วล่ะก็ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพฯ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็คงไม่แคล้วเป็นโลกใต้น้ำของสัตว์น้ำจืดเป็นแน่ ที่ฉันเปรียบแบบนี้คงไม่ผิดนักเพราะในความรู้สึกของฉันคิดเช่นนี้จริง ๆ

นับว่าเป็นโชคดีที่ฉันมาส่งญาติผู้น้องที่เพิ่งก้าวเข้ามาเป็นน้อง ใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงเป็นโอกาสเหมาะที่จะได้เข้าเยี่ยมชม "สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพฯ"ซึ่งตั้งอยู่ในเขตมหาวิทยาลัย ทันทีที่มาถึงก็แทบอดใจไม่ไหว อยากจะเข้าไปสัมผัสบรรยากาศข้างใน
เมื่อมองดูจากภายนอกแล้วบางทีฉันก็เผลอนึกไปเองว่าฉันมาถูกที่หรือ ว่าหลงมายืนอยู่หน้าอาคารเรียนของคณะใดคณะหนึ่ง กันแน่เพราะภายนอกดูไม่แตกต่างไปจากอาคารเรียนหลังอื่นๆในมหาวิทยาลัยแห่ง นี้เลย

ฉันกวาดสายตามองรอบนอกอยู่ชั่วขณะ จากนั้นจึงย่างสามขุมเข้าไปหน้าอาคารซึ่งมีเจ้าหน้าที่คอยบริการขายบัตรเข้า ชมอยู่ ราคาบัตรก็แสนถูกเพียงแค่ 20 บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าคุ้มค่าคุ้มราคาไม่แพ้บัตรราคาเป็นร้อยแถวสยาม

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพฯแห่งนี้ ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2483 เดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวต่อมาในปีพ.ศ.2516ได้ทำการรื้อถอนและก่อสร้างขึ้น ใหม่ เป็นอาคาร3ชั้น ตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและแคนาดา หลังจากนั้นได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นองประธานในพิธี ล่าสุดในปีพ.ศ.2546 พึ่งได้ทำการปรับปรุงในมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

ที่นี่มีการจัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำจืดทั้งท้องถิ่นของไทย และปลาน้ำจืดต่างประเทศบางชนิดรวมแล้วกว่า 100ชนิด มาไว้ที่นี่ ทันทีที่ฉันเดินเข้าไปตู้แรกที่เจอหาใช่ปลาไม่แต่เป็น เจ้า"เต่าบิน"ที่ มันมีหน้าที่คอยทำความสะอาดคราบขาวและคราบตะไคร่ต่างๆ ที่เกาะอยู่ภายในตู้ปลาต่างหากชมความน่ารักของเจ้าเต่าบินแล้วพอปลายตามองมา ยังตรงหน้าฉันก็เจอตู้ปลาขนาดใหญ่ที่เขียนบอกชนิดของปลาที่อยู่ในตู้ว่า เทพา เทโพ สวาย ด้วยความเขลาฉันไม่สามารถรู้ได้ว่าตัวไหนเป็นพันธุ์อะไรจึงต้องคอยอาศัยคู่ มือชมปลาที่ทางเจ้าหน้าแจกให้

ถึงได้รู้ว่าเจ้าปลาที่มีลักษณะลำตัวป้อมสั้น แต่ตัวโตมีครีบก้นยื่นออกมาเป็นเส้นยาวเรียวมีสีเทาอมน้ำตาลท้องมีสีจางอม ชมพูมันคือ"ปลาเทโพ"ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในท้องน้ำลุ่มแม่ น้ำเจ้าพระยาถึงลุ่มแม่น้ำโขงนั่นเอง เมื่อเดินมายังตู้ปลาใบถัดมาก็สร้างความฉงนให้เกิดขึ้นในใจฉันเป็นที่สุด เพราะตู้ใบนี้ไม่มีปลาอาศัยอยู่เลยแม้แต่ตัวเดียวแต่กลับมีพรรณไม้น้ำเต็มไป หมดจึงกระซิบถามเจ้าหน้าที่ที่คอยอำนวยความสะดวกอยู่ใกล้ๆว่าเขามีต้นไม้น้ำ ไว้ทำไหม

เจ้าหน้าที่จึงช่วยไขข้อสงสัยของฉันให้กระจ่างว่า พรรณไม้น้ำบรรดาคนนิยมเลี้ยงปลาจะปลูกไว้เพื่อประดับเสริมความสวยงามให้แก่ ตู้ปลา แล้วมันยังเพิ่มชีวิตชีวาให้ตู้ปลาดูเป็นธรรมชาติมายิ่งขึ้นอีกด้วย ฉันจึงค่อย ๆ ไล่เรียงดูทีละชื่อพร้อม ๆ กับศึกษาคู่มือที่ได้มาควบคู่กันไปด้วย อย่าง"ต้นหลิวน้ำ"ที่เป็นพรรณไม้น้ำพื้นเมืองของไทยมีสีเขียวอ่อนสดใส

หรือจะเป็น"หญ้าหัวหงอก"ที่ ฉันเคยพบเห็นอยู่ตามทุ่งนาบ้านฉัน ก็พึ่งรู้คราวนี้แหละว่าสามารถปรับตัวให้อยู่ใต้น้ำได้ดีที่เรียกกันว่าหญ้า หัวหงอกคงเพราะว่าบริเวณยอดจะมีสีเขียวอ่อนๆจนเกือบขาวอันนี้ก็อีกฉันไม่ยัก กะรู้ว่าเขานิยมนำมาไว้ประดับตู้ปลากันตั้งแต่เมื่อไหร่ ก็แถวบ้านฉันยังเคยนำมาแกงกินเลยนั่นก็คือ"ผักกูดนา"หรือ อีกชื่อหนึ่งผักกูดเขากวางเป็นเฟิร์นน้ำชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่บริเวณที่น้ำ ท่วมถึงต้นที่งอกพ้นน้ำจะมีลำต้นตรงใบแตกกิ่งคล้ายเขากวาง ส่วนต้นที่อยู่ใต้ผิวน้ำจะอ่อนกว่าและใบแผ่ออกนิ่มบาง

ฉันเดินมุ่งหน้าต่อไปยังตู้ปลาอื่นอื่นอีกหลายตู้แวะทักทายเจ้าปลา น้อยใหญ่หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นปลาม้า ปลากาดำ ปลาชะโอน และเจ้าปลายี่สกที่อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ก่อนจะเดินขึ้นไปบนชั้น2 ฉันสะดุดกับความน่ารักของเจ้าปลาเสือตอลายใหญ่ ที่ตัวแบนๆ ลำตัวมีสีเหลืองอมน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้มก้านครีบอ่อนมีแถบบั้งสีดำพาดห้าแถบ แต่ก่อนพบมากในเขตแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน่าน แม่น้ำป่าสัก และบึงบอระเพ็ดที่บอกว่าแต่ก่อนพบมากเป็นเพราะเดี๋ยวนี้มันใกล้จะสูญพันธุ์ เรียกว่าเข้าขั้นวิกฤตแล้ว

ใกล้ๆกับบันไดทางขึ้นชั้น2 ฉันสังเกตเห็นมุมที่มีตู้ปลาขนาดเล็กตั้งเรียงรายอยู่หลายใบครั้นพอเดินเข้า ไปใกล้ๆ จึงได้เห็นชัดว่าเป็นอาณาเขตของปูตัวน้อยที่เดินโต๋เต๋ไปมาอยู่ในตู้ มีทั้ง "ปูเจ้าฟ้า"และ"ปูราชินี" ที่จัดเป็นสัตว์น้ำสงวนและคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535ซึ่งหาดูได้ยากก็สามารถชมกันได้ที่นี่

แทบอดใจไม่ไหวเมื่อคิดว่าข้างบนนั้น จะต้องมีพันธุ์ปลานานาชนิดแหวกว่ายรอคอยการมาเยี่ยมของฉันอยู่ และก็จริงดังคาดเพียงแค่บันไดทางขึ้นก็แฝงสาระไว้ให้ฉันได้ประเทืองปัญญา ด้วยการทำแผนภูมิแสดงวิวัฒนาการของปลาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ไว้อย่างชัดเจนเป็น ขั้นเป็นตอน

เมื่อก้าวขึ้นมาถึงบริเวณชั้น 2 สัตว์ชนิดแรกที่ฉันได้พบก็คือเต่าที่โดนสตาฟฟ์ไว้หลากหลายชนิดมีทั้งเต่าลาย ตีนเป็ด เต่ากระวาน เต่าเหลือง เต่าหับ ที่ตั้งนิ่งไม่ไหวติงชั้นบนนี้ก็ยังมีตู้ปลาหลากหลายชนิดให้ชมกันอย่างเพลิน ตาทั้ง ปลาสังกะวาดที่มีลำตัวแบนแต่โดดเด่นด้วยหนวดถึง 3 คู่ หรือจะเป็นปลาหมอช้างเหยียบปลาตัวเล็กที่มีจะงอยปากสั้นทู่แต่ครีบหลังยาว ก้านครีบแข็ง

เปลี่ยนตู้มาเจอะกับ"ปลาช่อนงูเห่า"ดู บ้าง เพียงแค่ฟังชื่อก็สร้างความหวาดหวั่นแล้วแต่เจ้านี่ไม่ได้ดุร้ายมีพิษสง เหมือนงูจริง ๆ หรอกที่เรียกว่าปลาช่อนงูเห่าก็เพราะความที่ลำตัวมันเรียกยาวกว่าปลาช่อน ทั่วไปตัวมีสีเขียวมะกอกอมเทาและแต้มประสีคล้ำ ความพิเศษของมันคือพบได้ไม่บ่อยนักในปัจจุบัน

นอกจากปลาเป็นๆที่แหวกว่ายลอยไปมาอยู่ในตู้แล้วก็ยังมีโครงกระดูกของปลาขนาด ใหญ่อย่างปลากระโห้ที่ มีความยาวถึง145 เซนติเมตรหนักถึง 80.5กิโลกรัม ซึ่งจับได้จากแม่น้ำเจ้าพระยาเขตจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อประมาณ 50ปีที่แล้วตั้งไว้ให้ชมอีกด้วย

อีกตัวก็เป็นปลากระโห้กะมันต่าง จากตัวแรกตรงที่เป็นปลาที่ใช้ปูนปลาสเตอร์หล่อจากปลาตัวจริงตัวนี้จัดเป็น ความภาคภูมิใจของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่นี่เพราะได้รับพระราชทานมาจากพระ ตำหนักสวนจิตรลดาเมื่อเดือนธันวาคมปีพ.ศ.2541
ส่วนโครงกระดูกที่วางอยู่ในตู้ถัดไปเป็นโครงกระดูกของปลาบึกซึ่งจัด เป็นปลาไม่มีเกล็ดที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งจับได้จากแม่น้ำโขงก็มีจัดแสดง ไว้รอคอยให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนชมศึกษาร่างกายมัน

แม้จะเป็นครั้งแรกที่ฉันได้มาชมปลาที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำแห่งนี้ ก็ไม่ได้สร้างความผิดหวังให้ฉันเลยกลับสร้างความตื่นเต้นราวกับเด็กตัวเล็กๆ ที่ได้มองเห็นอะไรใหม่ๆที่แปลกตาเป็นโลกอีกใบ ที่มีมนต์สะกดให้ตราตรึงอยู่กับสรรพสัตว์ทั้งหลายที่คอยแหวกว่ายรอให้ฉันมา ยลโฉมมันอย่างใจจดใจจ่อนอกจากจะได้รับความบันเทิงใจแล้วครั้งนี้ฉันยังพกพา ความรู้แบบปลาๆ กลับบ้านอีกด้วย

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพฯตั้งอยู่ใน บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใกล้ทางเข้า-ออกประตูพหลโยธิน2เปิดให้เข้าชม ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา10.00-16.00น. หยุดทุกวันจันทร์ อัตราค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก/นักเรียน นักศึกษา 10บาท สอบถามเพิ่มเติมโทร0-2940-6543,0-2562-0600 ต่อ5118,5222

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น