บริการถ่ายภาพสุดประทับใจ

..คลิกที่รูป...บริการถ่ายภาพสุดประทับใจ prewedding รับปริญญา พิธีการต่าง แฟชั่น อีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บ้านพิพิธภัณฑ์


ถ้าใครชอบหนังระลึกชาติอย่างเรื่อง "แฟนฉัน" ฉันว่าก็น่าจะชอบพิพิธภัณฑ์ระลึกชาติอย่าง "บ้านพิพิธภัณฑ์" ด้วยเหมือนกัน

"เก็บวันนี้ พรุ่งนี้ก็เก่า" เป็นสโลแกนของบ้านพิพิธภัณฑ์ ที่ฉันคิดว่าเข้าท่ามากๆ คุณเอนก นาวิกมูล ผู้ก่อตั้งบ้านพิพิธภัณฑ์ สถานที่ซึ่งรวบรวมเอาข้าวของเก่าๆ ที่แสดงถึงชีวิตชาวเมืองในช่วง พ.ศ.2500 มาจัดแสดงไว้ในบ้านพิพิธภัณฑ์ทั้งสามชั้นนี้ ตั้งใจจะให้บ้านพิพิธภัณฑ์เป็นตัวจุดประกายความคิดว่า ของบางสิ่งบางอย่างในชีวิตประจำวันเหล่านี้สามารถเก็บไว้เพื่อการศึกษาได้ ไม่จำเป็นต้องเก็บแต่ของมีราคาหรือของเก่าเป็นร้อยเป็นพันปีเท่านั้น

ที่ฉันบอกว่าพิพิธภัณฑ์ระลึกชาตินั้นก็ออกจะโอเวอร์ไปสักเล็กน้อย แต่เชื่อว่าที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้น่าจะทำให้หลายๆ คนนึกถึงเรื่องราวในอดีตได้ ไม่ใช่อดีตอันไกลโพ้นขนาดชาติที่แล้วอะไรแบบนั้น แต่เป็นอดีตที่ย้อนไปสัก 40-50 ปี สมัยที่เราๆ หรือคนวัยทำงานยังเป็นเด็ก หรือสมัยคุณแม่ยังสาวนั่นแหละ

บางคนอาจจะว่า โธ่... ของเก่าแค่ 50 ปี บ้านฉันก็มีเหมือนกันแหละ ไม่เห็นต้องไปดูที่อื่น แต่ฉันว่าอารมณ์มันไม่เหมือนกันหรอกนะ ระหว่างของเก่าที่วางทิ้งฝุ่นจับอยู่ที่บ้าน กับของเก่าที่ตั้งใจเก็บไว้อย่างดีที่บ้านพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

จ่ายค่าตั๋วเพียง 30 บาท ฉันก็ได้เข้ามายืนอยู่ในบรรยากาศของ พ.ศ.2500 เริ่มตั้งแต่ชั้นที่หนึ่ง ซึ่งมีบรรยากาศเป็นเหมือนห้องแถวไม้ จัดจำลองเป็นร้านกาแฟบ้าง ร้านขายของเล่นบ้าง ฉันเข้าไปดูมุมของร้านกาแฟเฮงฮวดก่อน ร้านกาแฟนี้ทำเลียนแบบร้านในตลาดบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีมุมของเจ้าของร้านสำหรับชงชากาแฟ มีโต๊ะให้ลูกค้านั่ง และมีข้าวของสารพัดอย่างอัดกันอยู่ในตู้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำปลา อาหารกระป๋อง เหล้า บุหรี่ ไม้ขีดไฟ ฯลฯ เอาไว้ขายให้ลูกค้า เพราะนอกจากชากาแฟแล้ว เจ้าของร้านก็จะหาข้าวของต่างๆ มาขาย ทำให้หน้าตาของร้านกาแฟออกจะดูเหมือนร้านขายของชำไปด้วย และมุมร้านกาแฟนี่แหละ เป็นมุมยอดนิยมที่ใครมาดูก็จะต้องแวะมาถ่ายรูป ทำตัวเป็นอาโกร้านกาแฟกันแทบทุกคน

ตรงข้ามกับร้านกาแฟ คือร้านตัดผมอรุณเกศา ที่ยังมีเก้าอี้ตัดผมแบบโบราณให้นั่งแอ๊คท่าถ่ายรูปกัน มีโปสเตอร์ดารายุคเก่าๆ แบบที่ร้านตัดผมชอบนำมาติด และมีมุมร้านตัดเสื้อสตรี และจักรเย็บผ้าด้วย
บ้านพิพิธภัณฑ์ดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ โดยสมาคมกิจวัฒนธรรมและอาสาสมัคร

ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2544

คำว่าบ้านพิพิธภัณฑ์ หรือ House of Museums หมายถึงบ้านที่รวบรวมของต่างๆโดยหวังว่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพิพิธภัณฑ์ แขนงต่างๆ ขึ้นอีกต่อไป

เรื่องราวที่จัดแสดง คือวิถีชีวิตชาวตลาดชาวเมืองในยุค 2500 และใกล้เคียง

ของที่จัดแสดง ส่วนใหญ่มาจากการบริจาค (ฉะนั้นแต่ละหมวดจึงไม่ได้มีของสมบูรณ์ทุกยุคทุกสมัย) อีกส่วนหนึ่งมาจากการซื้อด้วยเงินรายได้เท่าที่พอมี เพื่อให้มีของแปลกๆ มาเสริมให้ผู้ชมได้ดูของมากขึ้นเรื่อยๆ

เหตุที่จัดทำบ้านพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาก็เพราะเห็นว่าของดีจำนวนมากถูกทิ้ง ไปโดยเปล่าประโยชน์ ในขณะที่เราไม่สามารถหาชมของจำพวกนี้ เช่น ตู้โต๊ะตั่งเตียงสวยๆ, แบบเรียน, ป้ายโฆษณา, ขวดน้ำอัดลม, แก้วน้ำ, ชามก๋วยเตี๋ยว, กล้องถ่ายรูป, ของแถม,ของเล่น, กระบอกเสียง ฯลฯ ได้จากพิพิธภัณฑ์ทั่วไป เพื่อให้มีแหล่งรับบริจาคและเก็บของ (ซึ่งจริงๆ แล้วรัฐควรเป็นผู้จัดทำทั้ง 4 ภาคหรือทุกจังหวัด) สมาคมกิจวัฒนธรรมจึงลงมือทำไปตามกำลังก่อนดังที่เห็น

“บ้านพิพิธภัณฑ์” เป็นบ้านของส่วนรวมหรือของสาธารณะ แทบทุกอย่างมาจากการบริจาค เริ่มตั้งแต่ที่ดิน 58 ตารางวา จาก ร.อ.อาลักษณ์ อนุมาศ, การออกแบบก่อสร้างอาคาร, การออกแบบห้องแสดง, ข้าวของที่นำมาจัดแสดง และที่สุดคือกรรมการซึ่งสละเวลามาช่วยกันทำงานเพื่อส่วนรวมโดยไม่มีเงิน เดือน

สมาคมกิจวัฒนธรรมซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2532 ปัจจุบัน พ.ศ.2550 มี ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ เป็นนายกสมาคม

เดิมบ้านพิพิธภัณฑ์มี 1 หลัง ปัจจุบันมี 2 หลัง

แนวการออกแบบหรือจัดแสดง คือ กั้นห้องเป็นเหมือนห้องแถวในตลาด

บ้านพิพิธภัณฑ์หลังที่ 1
ชั้น 1 จัดเป็นร้านของเล่น, ร้านขายของจิปาถะ, ร้านขายยา และร้านขายของที่ระลึก

ชั้น 2 จัดเป็นโรงหนัง โรงพิมพ์ในตรอกข้างโรงหนัง ร้านตัดผม-ตัดเสื้อ ร้านให้เช่าหนังสือนิยาย ร้านถ่ายรูป, ห้องครัว, บ้านสุวัตถี และห้องจัดแสดงของทั่วไป

ชั้น 3 จัดเป็นห้องเรียน ห้องนายอำเภอ ร้านขายแผ่นเสียง วิทยุโทรทัศน์ ร้านทองและร้านสรรพสินค้า

บ้านพิพิธภัณฑ์หลังที่ 2 มีชั้นเดียว สมมุติเป็นตลาดริมน้ำมีนอกชาน สร้างม้านั่งไว้ให้นั่งเล่นกันหน้าร้านกาแฟ, ร้านขายของชาวบ้าน, นอกจากนั้นมีร้านทำฟัน, ร้านขายเครื่องเขียนแบบเรียน, ร้านทอง และแผงหนังสือข้างร้านทอง เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่ปลายปี 2549

อนาคต
โครงการที่คิดฝันในอนาคตคือการขยับขยายโครงการสร้างพิพิธภัณฑ์ในชื่อ “ตลาดเล็กๆ” หรือ Little Market ขึ้น ในพื้นที่ขนาด 4-5 ไร่ เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์และที่พักผ่อนในรูปตลาดริมน้ำ มีคูคลอง อาคารร้านรวง ชวนให้นึกถึงวัยเด็กที่เคยรื่นรมย์

โครงการดังกล่าว ต้องการผู้มีกำลังทรัพย์ที่ใจบุญ บริจาคที่ดินและงบประมาณเป็นประเดิม โครงการจึงจะสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้

บ้านพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 170/17 หมู่ที่ 17 ซอยคลองโพ 2 ถนนศาลาธรรมสพน์ (ถนนเล็ก ต่อจากปลายถนนพุทธมณฑลสาย 2 ด้านทางรถไฟ) เขตทวีวัฒนา กทม.10170


http://houseofmuseums.siam.edu/

ติดต่อทางโทรศัพท์ได้ที่หมายเลขต่อไปนี้

089-200-2803 (เอนก)
089-666-2008 (วรรณา)

โทรสาร 02-869-6281

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น